คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง
หรือโปรแกรมต่างๆ
สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ คือ มีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผล
ข้อมูลทั้งที่เป็นตังเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเน 5 ส่วน คือ
ส่วนที่1 หน่วยรับข้อมูลเข้า( input Unit)
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู้ระบบ
เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
-แป้นอักขระ ( Key bord )
-แผ่นซีดี ( CD
Rom )
-ไมโครโฟน
( Microphon) เป็นต้น
ส่วนที่2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central
Processing Unit)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลผลข้อมูลตามคำสั้งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั้งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลืเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง
และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพือเตรียมส่งไปยังแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์
ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5
อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพืวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น เช่น โมเด็ม( Modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
เป็นต้น
**ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์**
1.มีความเร็วในการทำงานสูง
สามารถประมวลผลคำสั้งได้อย่างรวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในการคำนวณต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มำงานได้ตลอด 24
ชั้งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.มีความถูกต้องแม่นยำ ต่าโปรแกรมคำสั้งที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เอกสาร
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์
ทำการใดๆกับข้อมูลให้อนยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานมากที่สุด
เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า
ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้
โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอนด้วยส่วนสำคัญ 4
ส่วน ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์
(Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์
(Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Date)
4.บุคลากร
(Peopleware)
ฮาร์แวร์(Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4ส่วน ดังต่อไปนี้
1.ส่วนประมวลผล(Processor)
2.ส่วนความจำ(Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก(Input-OutputDevices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล(Storage
Dveice)
ส่วนที่ 1 CPU
เป็นอุปกรณืฮาร์ดที่เปรียบเสมือนสมอง
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล
โดยการทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล
อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียู ขึ้นอยู่
กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาใก เป็นความเร็วจำนวนรอบของสัญญาณ
ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ
( Memory )
จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )
2.หน่วยความจำสำรอง ( Secondery Storage )
1.หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั้งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดความจำข้อมูล
ที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั้ง
ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPU ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าออกจากหน่วยความจำ
การทำงานของคอมพิวเตอร์
ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล
ขนาดของความจุของหน่วยควาทมจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ คือจำนวนข้อมูล
และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด
พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง CPU
ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2
อย่าง
1.ซิป (Chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภท หน่วยความจำแบบแรม
และหน่วยความจำแบบรอม
1.1 หน่วยความจำแบบ แรม
RAM = Random Access Memory
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล
ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั้วคราวขณะทำงาน
ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนปิดเครื่อง
เราเรียกหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory )
1.2 หน่วยความจำแบบ รอม
ROM = Read Only Mmemory
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนในวงจร
ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว
ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม
เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่าหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน
2. หน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้มูลรอง
เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากที่เราปิดเครื่องแล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลัก คือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านระหว่างข้อมูลคอมพิวเตอร์เครื่องไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องจากไฟฟ้าดับแพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผลเมื่อเรีบยร้อยแล้ว
ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื้องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า
อาจทำให้ข้อมูลสูญเสียจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอม
เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอกเช่น
ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ซิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบเฟลช
หน่ยวความจำนี้ไม่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางทำให้รูปแบบที่คนสามารถเข้าใจได้
อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Scree Monitor) เครื่องพิมพ์ภาพ
(Ploter ) และลำโพง (Speaker ) เป็นต้น
PEOPLEWARE
บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง
คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น
อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอม
1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP
Manager )
2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผน ( System
Aralyst หรือ SA )
3.โปรแกรมเมอร์ ( Porgrammer )
4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ( Computer Operator )
5.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล ( Date Entry
Operator)
- นักวิเคราะห์ระบบงาน
- ทำการฝึกระบบงานเดิม ออกแบบใหม่
- โปรแกรมงานใหม่ ( โปรแกรมเเมอร์ )
- วิศวกรระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง
และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
- พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้อง
**********************************************************************************************************************************
**********************************************************************************************************************************
ซอฟแวร์ (software)
ซอฟแวร์
หมายถึง
การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั้งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วน
สมบูรณ์ตามที่ต้องการ
เรามองไม่เห็นหรือสัมผัศไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บและนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด
เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ซไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
หน้าที่ของซอฟแวร์
ซอฟแวร์ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์
ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ซอฟแวร์สำหรับเครืองคอมพิวเตอร์
สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท
ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
ซอฟแวร์ระบบ(system software)
ซอฟแวร์ประยุกต์(application software)
และซอฟแวร์ที่ใช้เฉพาะ
1.ซอฟแวร์ระบบ(system software)
ซอฟแวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จากการกับระบบ หน้าที่การทำงานของระบบซอฟแวร์ คือ
ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์เช่น
รับข้อมูลจากแผนแป้นอักขระ แล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
system sofware
หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS,WINDOWS, UNIX,LINUX รวมทั้งโปรแกรม
แปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษาBASIC,FORTRAN<PASCAL,COBOL,C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น Norton
s utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ
1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยรับออก เช่น
รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแป้นอักขระ
ส่งรหัสด้วยอักษรออกทางจอภาพหรือ เครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น
เม้าส์ ลำโพง เป็นต้น
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ
เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลักหรือในทำนองกลับกัน คือ
นำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมระหวางผู้ใช้กับเครืองคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (Directory)
ในแผ่นบันทึก
การทำสำเนาหรือแฟ้มข้อมูล
ซอฟแวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไปแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟแวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ระบบปฏิบัติการ(Operating system:OS)
เป็นซอฟแวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์
เครืองคอมพพิวเตอร์ทุกเครืองจะต้องมีซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์
ยูนิกซ์ ลี นุกซ์
และแมคอินทอซ เป็นต้น
1. ดอส(Disk Operating system:DOS) เป็นซอฟแวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอส
ป็นซอฟแวร์ ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการ ดอส นั้นมีการใช้งานน้อยมาก
2. วินโดวส์ (Windows) เป้นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจาก
ดอส
โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเม้าส์มากขึ้นแทนการใช้แผนแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้โดยงานแตละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพการใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก
ผู้ใช้งานสามารถใช้เม้าส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
ระบบนี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
3. ยูนิกซ์ (Unix) เป้นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด(Open
system)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์
ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(Nultiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลัษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครืองพร้อมกัน
4. ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์
เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์
เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจบัน
เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่ม กูศ์นิว(GNU) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป้นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free
W are) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
สามารถทำง่านได้บนซีพียู หลายตระกูล เช่น อินเทล(PC Intel) ดิจิตอล(Digital
Alpha Computer) และซันสปาร์ค(SUN
SPARCC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์
ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ บนซีพียูได้ ทั้งหมดก็ตาม
แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์มากขึ้น
5. แมคอินทอซ(Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอซ
ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก
ออกแบบ และจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมา
ยังมีระบบอีกมาก เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบเช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์
นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งส่วนใหญ่จะใช้งานในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
ชนิดของระบบปฏิบัติการจำแนกตามการใช้งานได้เป็น 3
ชนิด คือ
1. ประเภทใช้งานเดียว(SIngle tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละ
1 งาน
2. ประเภทใช้งานหลายงาน(Multi-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ใช้งานกับซอฟแวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น
ระบบปฏิบัติการ (Windows98) ขึ้นไปและยูนิกส์ เป็นต้น
3. ประเภทใช้งานหลายคน(Multi
user) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล
ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง
เพื่อให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลาเช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ nt และ ยูนิกส์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น